ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน

ที่ตั้ง

  • โรงเรียนอนุบาลสงขลา  ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครสงขลา  เลขที่  36  ถนนรามวิถี  ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา รหัสไปรษณีย์ 90000 โทรศัพท์ 0-7431-1677

ประวัติ

  • เปิดสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2486  โดยใช้สถานที่อาคารเรียนของโรงเรียนวรนารีเฉลิม มีอาจารย์ระเบียบ  นิยมจินดา และอาจารย์เยื้อน  ถาวร เป็นผู้วางรากฐานการศึกษาระดับอนุบาล
  • พ.ศ.2495  ได้ก่อสร้างอาคารเรียนแบบกรมสามัญ 1  หลัง 7 ห้องเรียน เป็นเงิน  265,000 บาท     ในที่ดินราชพัสดุ (ที่ปัจจุบัน)  จำนวน 4 ไร่ 2 งาน 30 ตารางวา และวันที่  8  เดือน มีนาคม พ.ศ.2497 ย้ายมาเรียนที่ปัจจุบันมี นางบุญถนอม  เขมะศิริ เป็นครูใหญ่คนแรก เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1  ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และโรงเรียนได้พัฒนาและเจริญมาเป็นลำดับ
  • พ.ศ.2521  เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 โอนไปสังกัดกองการประถมศึกษากรมสามัญ
  • พ.ศ.2523  การรถไฟแห่งประเทศไทย  อนุมัติให้ใช้ที่ดิน 2 ไร่ 1 งาน  เพื่อขยายบริเวณโรงเรียน  และในปีนี้ได้โอนไปสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
  • พ.ศ.2527  นางอารมณ์  ภัทรปกรณ์  ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลสงขลา  แทนผู้อำนวยการคนเดิมซึ่งเกษียณอายุราชการ โรงเรียนได้พัฒนาและเจริญมาเป็นลำดับ  ทั้งในด้านการเรียนการสอนและปรับปรุงอาคารสถานที่ ฯลฯ
  • พ.ศ.2536  นายชอบ  บุญช่วย ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลสงขลา  และโรงเรียนได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณแม่เคียง  ธาระวานิช บริจาคเงิน 2,000,000 บาท สร้างอาคารเรียน “บุญเศียร – เคียง  ธาระวานิช” เป็นอาคารเรียนตึก 2 ชั้น  แบบ 504 จำนวน 8 ห้องเรียน มอบให้ทางราชการ เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2536
  • พ.ศ. 2540 นายอุดม  หนูประดิษฐ์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลสงขลา และทางโรงเรียนได้หางบประมาณจัดสร้างอาคารอเนกประสงค์ (ประชา – รัตน์ศรัทธา)  โดยการทอดผ้าป่า 2 ครั้ง  เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม  พ.ศ.2540 และวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2541  ดร.รัตน์  ประธานราษฎร์นิกร  ได้บริจาค เงิน  1,000,000 บาท สมทบกับผู้บริจาคศรัทธาร่วมทอดผ้าป่า จัดสร้างอาคารอเนกประสงค์ (ประชา – รัตน์ศรัทธา) ทั้งสิ้นเป็นเงิน 8,700,000 บาท
  • พ.ศ.2542  วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2542  โรงเรียนได้ทำพิธีเปิดอาคารอเนกประสงค์ (ประชา – รัตน์ศรัทธา)  โดยเลขาธิการคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ  ดร.กษมา วรวรรณ  ณ อยุธยา เป็นผู้รับมอบ
  • พ.ศ.2543  นายสมหมาย  ขวัญทองยิ้ม ได้รับการแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ โรงเรียนอนุบาลสงขลา เดินทางมารับตำแหน่ง เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2543
  • วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2547  ได้โอนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ.2550  โรงเรียนอนุบาลสงขลา  ได้ผ่านการประเมินโรงเรียนรับรางวัลพระราชทาน ระดับประถมศึกษาขนาดใหญ่  นายสมหมาย  ขวัญทองยิ้ม  ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี      ณ ศาลาดุสิดาลัย  เพื่อรับเกียรติบัตรโรงเรียนรางวัลพระราชทาน  เมื่อวันที่ 19  สิงหาคม พ.ศ. 2551
  • พ.ศ.2551  โรงเรียนได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสพระชนมพรรษา 80 พรรษา แบบพิเศษ 1 หลัง 4 ชั้น  20 ห้องเรียน ขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 45 เมตร ใช้งบประมาณ 10,700,000 บาท (เงินสิบล้านเจ็ดแสนบาทถ้วน)  เริ่มดำเนินการก่อสร้าง ตั้งแต่วันที่  12 มีนาคม พ.ศ.2551 – วันที่  27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 และเริ่มเปิดใช้งาน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม  พ.ศ.2552
  • พ.ศ.2552  โรงเรียนได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนแบบ  สปช.2/28 จำนวน 4 ชั้น 12 ห้องเรียน งบประมาณ 8,488,000 บาท (เงินแปดล้านสี่แสนแปดหมื่นแปดพันบาทถ้วน) และเริ่มเปิดใช้งานตั้งแต่ วันที่ 1 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2553
  • พ.ศ.2555 นายศิลปชัย   ผลกล้า  ได้รับการแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลสงขลา เดินทางมารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2555 จนถึง วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2564
  • พ.ศ.2564 นายเกษม   บูหัส  ได้รับการแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลสงขลา เดินทางมารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2564 จนถึงปัจจุบัน
  • ปัจจุบัน โรงเรียนอนุบาลสงขลา จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา (ชั้นอนุบาลปีที่  2) ถึงระดับประถมศึกษาปีที่ 6  มีนักเรียน 2,000 คน ห้องเรียน 56 ห้องเรียน

เนื้อที่และอาณาเขตของโรงเรียน

  • โรงเรียนอนุบาลสงขลา มีเนื้อที่ทั้งหมด  6 ไร่  3 งาน 30 ตารางวา   อาณาเขต    ทิศเหนือ จดถนนปละท่า   ทิศใต้ จดถนนรถไฟ   ทิศตะวันออก จดศูนย์การค้ารถไฟ   ทิศตะวันตก จดถนนรามวิถี

ลักษณะของชุมชนที่สถานศึกษาตั้งอยู่

  • โรงเรียนอนุบาลสงขลา ตั้งอยู่ในเขตชุมชนหนาแน่น เขตเทศบาลนครสงขลา ประชากรในเขตเทศบาลมีจำนวน  83,000 คน  นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 85  ศาสนาอิสลามร้อยละ 13 และศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 2 การคมนาคม การคมนาคมสะดวกทุกฤดู ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองสงขลาประมาณ 1 กิโลเมตร

สภาพทางเศรษฐกิจ

  • สภาพเศรษฐกิจค่อนข้างดี รายได้ของประชากรต่อหัวประมาณ 140,562 บาทต่อปี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง ธุรกิจส่วนตัว รับราชการ ค้าขาย และรับจ้าง

สภาพทางสังคม

  • เป็นสังคมเมือง  ชุมชนมีความสัมพันธ์กับสถานศึกษาค่อนข้างดี  ผู้ปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความร่วมมือกับโรงเรียนเป็นอย่างดี

สภาพทางภูมิศาสตร์

  • มี 2 ฤดู  คือ ฤดูร้อน และฤดูฝน  มีฝนตกตลอดทั้งปี มีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่าน

แหล่งท่องเที่ยวของชุมชน

  1. ชายหาดแหลมสมิหลา
  2. ชายหาดชลาทัศน์
  3. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา
  4. วัดมัชฌิมาวาสสงขลา
  5. เขาน้อย เขาตังกวน
  6. สวนสองทะเล
  7. พิพิธภัณฑ์พธำมะรงค์ จังหวัดสงขลา
  8. บ้านนครใน
  9. โรงสีแดง หับ โห้ หิ้น
  10. ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลาและศาลเจ้าพ่อกวนอู
  11. สวนสัตว์สงขลา
  12. ย่านเมืองเก่าสงขลา
  13. สถาบันทักษิณคดีศึกษา
  14. สวนประวัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
  15. เกาะยอ

ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียน


อักษร อ  = อักษรย่อของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด

ดอกบัว = ความอุดมสมบูรณ์ทุก ๆ ด้านของนักเรียน ทั้งด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ สติปัญญาตลอดถึงด้านคุณธรรม จริยธรรม

ปรัชญาการศึกษา     การศึกษา  พาชีวิต  สัมฤทธิ์ผล

คำขวัญ     ความรู้ดี  มีคุณธรรม  กิจกรรมเด่น  เน้นวินัย

วัฒนธรรมองค์กร     สร้างสรรค์  มุ่งมั่น  ศรัทธา  รักษาชื่อเสียง

ค่านิยม     ยึดนักเรียนเป็นสำคัญ  ทำงานร่วมกันเป็นทีม  มีความเป็นมืออาชีพ  สร้างสรรค์ ริเริ่ม สามัคคี

สีประจำโรงเรียน     ฟ้า – ขาว

เพลงประจำโรงเรียน